Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

สำนักงาน คปภ. จัด Workshop ร่วมกับ Moody’s Insurance ASEAN

สำนักงาน คปภ. จัด Workshop ร่วมกับ Moody’s Insurance ASEAN
1
เขียนโดย intrend online 2025-05-13

เตรียมความพร้อมในการพัฒนามาตรฐานการกำกับ รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศและภัยพิบัติ 

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จัด Workshop ร่วมกับ Moody’s Insurance ASEAN เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนามาตรฐานการกำกับ รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศและภัยพิบัติ และยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของอุตสาหกรรมประกันภัยไทย ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล  ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. (รัชดาภิเษก) กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร. อายุศรี คำบรรลือ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ เป็นประธานเปิดการอบรม และมีพนักงานของสำนักงาน คปภ. ในส่วนภูมิภาคกว่า 30 จังหวัด เข้าร่วม
 
ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดทำ Stress test เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท Own Risk Solvency Assessment (ORSA) โดยเฉพาะในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นภาวะที่บริษัทประกันภัยทั่วโลก จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมและรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับฐานะทางการเงินของบริษัท โดยที่ผ่านมาสำนักงาน คปภ. ได้มีการรวมการทดสอบภาวะวิกฤตเรื่องภัยธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบ Stress Test มาตั้งแต่ปี 2561 ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เผชิญกับภัยธรรมชาติ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ ภัยจากแผ่นดินไหว ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจ (Economic Loss) ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สำนักงาน คปภ. ต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดทำ Climate Stress test ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Moody’s Insurance ASEAN ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินที่มีชื่อเสียง มาร่วมจัดทำ Workshop ในหัวข้อ Strengthening Climate and Catastrophe Resilience เพื่อเสริมองค์ความรู้และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ กฎระเบียบ การรับมือ และแนวทางปฏิบัติในการประเมิน Physical Risk และ Transitional Risk โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติทั้งอุทกภัยและภัยจากแผ่นดินไหว

“การจัด Workshop ร่วมกันระหว่าง สำนักงาน คปภ. และ Moody’s Insurance ASEAN ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีสำคัญในการแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมแล้ว ยังเป็นการสร้างความร่วมมือระดับหน่วยงานในระยะยาว เพื่อประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนประกันภัย ซึ่งอยู่ในจุดที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยความเสี่ยงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น อันจะช่วยยกระดับมาตรฐานในการคาดการณ์ความเสี่ยงให้ดีขึ้น และจะช่วยสร้างอุตสาหกรรมประกันภัยไทยให้มีความยืดหยุ่น และแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อให้สามารถร่วมกันจัดการกับความท้าทายในอนาคต” ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ กล่าวในตอนท้าย